วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กลับบ้าน เข้าพรรษา



                                        เข้าพรรษา กลับบ้านแห่งจิต

         ละเลยบ้านตัวเองมานาน ถือโอกาสเข้าพรรษานี้ อยู่กับบ้าน ไม่สนใจเรื่องนอกบ้าน เก็บกวาดบ้านให้สะอาด ทั้งบ้านในจิต และบ้านนอกกาย ตั้งจิต หาข้อเสีย ข้อดี แล้วปรับปรุง ต้องสำรวจทุกขณะจิต คงยังไม่สามารถสำรวจทุกลมหายใจเข้าออก แต่จะสรุปผลที่ได้ทำและพิจารณาได้ในแต่ละวัน จดบันทึกเพื่อเห็นจิต และสิ่งที่ได้ทำลงไป ต่อสู้กับความเกลียดคร้านของตัวเอง เพื่อจะได้กลับบ้านให้ได้ทุกขณะจิตในอนาคต(ความหวังเล็กๆ)
                                                     
                                                        

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

อาณาจักรแห่งความมืด

อาณาจักรแห่งความมืด
  นักดาราศาสตร์ที่ใช้กล้องโทรทรรศน์เคก II ขนาด 10 เมตรในฮาวายได้ยืนยันว่ากลุ่มของดาวฤกษ์มืดๆ ขนาดเล็กประมาณ 1 พันดวงซึ่งอยู่นอกทางช้างเผือกออกไปเป็นกาแลคซีที่มืดมากที่สุดเท่าที่เคยพบมา เช่นเดียวกับที่พวกมันน่าจะเป็นแหล่งรวมดาวเก่าแก่ดึกดำบรรพ์


นี่คือส่วนหนึ่งบนท้องฟ้าที่นักดาราศาสตร์ได้พบกาแลคซีแคระ Segue 1 ด้วยการใช้เครื่องมือ DEIMOS บนกล้องเคก II นักดาราศาสตร์สามารถแยกแยะว่าดาวฤกษ์ดวงใดกำลังเคลื่อนที่ไปพร้อมกันเป็นกลุ่ม(วงกลมสีเขียว):

  คำว่า มืด นั้นนักดาราศาสตร์ไม่ได้หมายถึงปริมาณแสงที่กาแลคซีเปล่งออกมา สำหรับกาแลคซีแคระที่มีชื่อว่า Segue 1 นั้นดูเหมือนจะมีมวลมากกว่าที่นับได้จากดาวที่มวลเห็นประมาณ 3400 เท่า หรือพูดอีกอย่างว่า Segue 1 ประกอบด้วยเมฆของสสารมืดก้อนมหึมาซึ่งประดับประดาด้วยดาวฤกษ์


Marla Geha จากมหาวิทยาลัยเยล, Joshua Simon จากสถาบันคาร์เนกี้ในวอชิงตัน ดี.ซี. และเพื่อนร่วมงานของพวกเขาได้ประกาศการค้นพบกาแลคซีที่มืดที่สุดเป็นครั้งแรกเมื่อ 2 ปีก่อน การกล่าวอ้างเดิมนั้นมีพื้นฐานมาจากข้อมูลจากการสำรวจ Sloan Digital Sky Survey และกล้องเคก II การสำรวจเหล่านี้บ่งชี้ว่าดาวทั้งหมดกำลังเคลื่อนที่ไปด้วยกันและเป็นกลุ่มที่แตกออก แทนที่จะเป็นกระจุกของดาวคล้ายๆ กันซึ่งถูกฉีกออกจากกาแลคซีแคระคนยิงธนู(Sagittarius dwarf galaxy) ซึ่งอยู่ใกล้ๆ และมีดาวฤกษ์มากกว่า แต่ทีมนักดาราศาสตร์คู่แข่งจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสหราชอาณาจักร กลับไม่เห็นด้วย


ดังนั้น Simon, Geha และทีมจึงกลับไปที่เคกและทำงานกับ Deep Extragalactic Imaging Multi-Object Spectrograph(DEIMOS) ของกล้องเพื่อตรวจสอบว่าดาวเคลื่อนที่เปรียบเทียบกับทางช้างเผือก และกับดาวด้วยกันเองอย่างไร ถ้าดาวฤกษ์ทั้งพันดวงนี้ทั้งหมดเป็นของ Segue 1 จริง โดยที่มีสสารมืดอีกกลุ่มใหญ่ๆ ดาวฤกษ์ก็น่าจะเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วที่ใกล้เคียงกัน Simon กล่าว แต่ข้อมูลของเคกแสดงว่าไม่เป็นเช่นนั้น แทนที่มันจะเคลื่อนด้วยความเร็วคงที่ที่ 209 กิโลเมตรต่อวินาที เทียบกับทางช้างเผือก ดาวบางส่วนของ Segue 1 กำลังเคลื่อนที่ด้วยอัตราที่ช้ากว่าที่ 194 กิโลเมตรต่อวินาที ขณะที่อีกส่วนก็เคลื่อนที่เร็วกว่าที่ 224 กิโลเมตรต่อวินาที นั้นบอกเราว่า Segue 1 จะต้องมีมวลมากกว่านั้นอีกมากเพื่อที่จะเร่งความเร็วดาวให้มีความเร็วอย่างนั้น Geha อธิบาย


มวลที่ต้องการเพื่อเป็นสาเหตุให้เกิดความเร็วที่แตกต่างของดาวฤกษ์ที่เห็นใน Segue 1 คำนวณได้ที่ 6 แสนเท่ามวลดวงอาทิตย์ แต่มีดาวฤกษ์เพียง 1000 ดวงใน Segue 1 และทั้งหมดก็มีมวลใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ Simon กล่าว ดังนั้นมวลส่วนต่างที่เหลือจะต้องเป็นสสารมืด


ข่าวน่าตื่นเต้นเท่าๆ กันจาก Segue 1 ก็คือการรวมกลุ่มของดาวฤกษ์รุ่นดึกดำบรรพ์อย่างผิดปกติ หนทางหนึ่งที่จะบอกว่าดาวฤกษ์ก่อตัวขึ้นมานานแค่ไหนก็คือผ่านองค์ประกอบธาตุหนักของมัน ซึ่งจะปรากฎในรายละเอียดการดูดกลืนแสงสเปคตรัม ดาวดึกดำบรรพ์หรือเก่าแก่มากจะมาจากช่วงเวลาที่เอกภพยังมีอายุน้อยและมีดาวขนาดใหญ่เพียงไม่กี่ดวงที่เจริญจนเก่าแก่มากพอที่จะหลอมอะตอมเบาอย่างไฮโดรเจนและฮีเลียม ให้กลายเป็นธาตุหนักขึ้นอย่างเหล็กและออกซิเจน ดังนั้นแล้ว ดาวโบราณจึงก่อตัวขึ้นจากเมฆก๊าซรุ่นแรกๆ ที่มีธาตุหนักอยู่ต่ำ


นักวิจัยสามารถรวบรวมข้อมูลเหล็กจากดาวฤกษ์ 6 ดวงใน Segue 1 ด้วยกล้องเคก II และทีมออสเตรเลียก็สามารถตรวจสอบดาวฤกษ์ของ Segue 1 ดวงที่เจ็ดได้โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ใหญ่มาก(VLT) และจาก 7 ดวงนั้น มี 3 ดวงที่มีเหล็กน้อยกว่าดวงอาทิตย์ของเราในอัตราส่วนหนึ่งในสองพันห้าร้อยส่วน


Simon กล่าวว่า นี่บอกว่ามันเป็นดาวฤกษ์ที่เก่าแก่ที่สุดและพัฒนาไปน้อยที่สุด การสำรวจหาดาวฤกษ์ดึกดำบรรพ์ในบรรดาดาวฤกษ์หลายพันล้านดวงของทางช้างเผือกให้จำนวนไม่ถึง 30 ดวง Geha กล่าวว่า ใน Segue 1 เราได้พบดาวฤกษ์เป็นสัดส่วน 10% ของจำนวนรวมที่พบในทางช้างเผือกแล้ว สำหรับการศึกษาดาวที่ดึกดำบรรพ์ที่สุดเหล่านี้ กาแลคซีแคระดูเหมือนจะมีความสำคัญอย่างมาก


การยืนยันกลุ่มสสารมืดขนาดใหญ่ใน Segue 1 ได้เน้นถึงความสำคัญของงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับ Segue 1 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิจัยบางคนที่เฝ้าดูมันด้วยกล้องโทรทรรศน์รังสีแกมม่าเฟอร์มี่ ในอวกาศด้วยความหวังที่จะพบสัญญาณจางๆ ของรังสีแกมม่าซึ่งน่าจะถูกสร้าง(โดยทฤษฎี) จากการชนและทำลายของคู่อนุภาคสสารมืด แต่โดยรวมแล้ว กล้องเฟอร์มี่ก็ยังตรวจไม่พบอะไร ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด และไม่ได้หมายความว่าไม่มีสสารมืดอยู่ตรงนั้น Simon กล่าว


เขาอธิบายว่า คำทำนายขณะนี้ก็คือกล้องเฟอร์มี่อาจจะไม่ไวพอที่จะเห็นรังสีแกมม่าจาก Segue 1 ดังนั้นจึงมีความหวังว่าเฟอร์มี่จะตรวจจับอย่างน้อยก็ร่องรอยของการชน การตรวจจับน่าจะเป็นเรื่องพิเศษสุดๆ ผู้คนกำลังพยายามที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับสสารมืดมา 35 ปีและก็ไม่ได้คืบหน้ามากนัก แม้ถ้ามีแสงเรืองสลัวของรังสีแกมม่าตามที่ทำนายไว้ก็น่าจะเป็นการยืนยันที่หนักแน่นมากพอสำหรับการทำนายธรรมชาติของสสารมืด


แต่ในเวลานี้ นักดาราศาสตร์สงสัยว่าจะมีกาแลคซีแห่งอื่นๆ หรือแม้แต่กาแลคซีที่มืดมากกว่านี้ อยู่รอบๆ ทางช้างเผือก รอคอยการค้นพบ เราอยากจะหาวัตถุอย่าง Segue 1 ให้ได้อีก Simon กล่าว

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

ดาวบาร์นาร์ด

ดาวบาร์นาร์ด




การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ในท้องฟ้า
ดาวฤกษ์ในท้องฟ้าที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีอยู่ประมาณ 8,000 ดวง ในขณะใดขณะหนึ่งจะเห็นได้ประมาณ 2,000-2,500 ดวง ถ้าใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดู จำนวนดาวที่เห็นได้จะเพิ่มขึ้นเป็นหลายล้านถึงหลายร้อยหลายพันล้านดวง มากมายจนชมกันได้ไม่จบสิ้นเลยทีเดียว
ดาวเกือบทั้งหมดที่เราเห็น ล้วนอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก ดาราจักรที่เป็นบ้านของเรานั่นเอง และเนื่องจากดาวทั้งหลายเป็นสมาชิกของดาราจักรเดียวกัน เส้นทางโคจรส่วนใหญ่จึงวนรอบแกนดาราจักรไปในทางเดียว ไม่ต่างอะไรจากคนจำนวนมากที่เดินร่วมทาง มีสูงต่ำดำขาว ช้าเร็ว ตรงบ้าง เฉบ้าง ถ้าเราอยู่ในกลุ่มคนที่ว่านี้ ก็จะเห็นบางคนเดินนำหน้า เดินตาม เดินสวนทาง หรือเดินอยู่ห่างๆ บางคนเดินตัดหน้า บางคนดูเหมือนไล่หลังตามมาติดๆ แล้วเฉียดผ่านไป
การเคลื่อนที่ของดวงดาวมีลักษณะเช่นเดียวกับการเดินในฝูงชน เราสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบของการเคลื่อนที่ดังกล่าวออกได้เป็นสองแนว แนวหนึ่งคือการเดินเข้าหาหรือเดินออกห่างด้วยอัตราเร็วต่าง ๆ เรียกว่า ความเร็วแนวรัศมี (radial velocity) อีกแนวหนึ่งคือการเดินผ่านหน้า ไม่ว่าจากทิศไหนไปทิศไหนก็ตาม เรียกว่า การเคลื่อนที่เฉพาะ (proper motion)
ความเร็วแนวรัศมีในทางดาราศาสตร์สามารถวัดได้ด้วยปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ (Doppler effect) ได้แก่การสังเกตเห็นความถี่ของคลื่นเสียงหรือคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าเปลี่ยนไปเมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่เข้าหาหรือเคลื่อนออกจากผู้สังเกต เมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนออกจากผู้สังเกต คลื่นจะถูกยืดออกทำให้ความถี่ลดลง เมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนเข้าหาผู้สังเกตคลื่นจะถูกบีบเข้าทำให้ความถี่เพิ่มขึ้น เมื่อใช้กับการเคลื่อนที่ดาวฤกษ์ ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์คือการที่ความยาวคลื่นของเส้นดูดกลืน (absorption lines) ในสเปกตรัมของแสงดาวยืดออกหรือหดลง ความเร็วแนวรัศมีโดยทั่วไปจะอยู่ที่หลักสิบกิโลเมตรต่อวินาที ดาวจำนวนหนึ่งมีความเร็วแนวรัศมีเป็นหลักร้อยกิโลเมตรต่อวินาที แต่ดาวพวกนี้มีอยู่ไม่มาก
การเคลื่อนที่เฉพาะ (µ) หมายถึง การเคลื่อนที่ปรากฏของดาวฤกษ์บนทรงกลมฟ้าต่อปี เป็นผลจากการเคลื่อนที่จริงของดาวในอวกาศกับการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ของดวงอาทิตย์ โดยทั่วไปดาวฤกษ์จะอยู่ห่างจากเรามากจนเรามองไม่เห็นการเคลื่อนที่ได้เลย คล้ายกับการมองรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วสูงจากระยะไกลมากซึ่งดูอย่างไรก็นึกว่ารถวิ่งช้า นักดาราศาสตร์ต้องสังเกตการณ์และจดบันทึกตำแหน่งดาวด้วยกล้องโทรทรรศน์กันเป็นหลายปี หรือหลายทศวรรษนั่นแหละ จึงจะพอเห็นได้ แล้วยังต้องวัดการเคลื่อนที่กันเป็นพิลิปดาต่อศตวรรษ มีดาวฤกษ์ประมาณ 300 ดวงเท่านั้นที่มีการเคลื่อนที่เฉพาะมากกว่า 1 พิลิปดาต่อปี
ถ้าเรารู้ความเร็วแนวรัศมี การเคลื่อนที่เฉพาะ และระยะห่างของดาวแต่ละดวง เราก็จะสามารถสร้างแบบจำลองการเคลื่อนที่ในสามมิติของดาวเหล่านั้น รวมทั้งตำแหน่งแห่งที่ของดวงอาทิตย์ในการเคลื่อนที่โดยรวมนั้นด้วย

ดาวบาร์นาร์ด
การเคลื่อนที่เฉพาะของวัตถุยิ่งสูง วัตถุนั้นจะดูเหมือนย้ายตำแหน่งเร็วขึ้น ในกระบวนดาวฤกษ์ทั้งหมดในฟากฟ้า ดาวบาร์นาร์ด (Barnard's star) ในกลุ่มดาวคนแบกงู คือเจ้าของสถิติการเคลื่อนที่เฉพาะสูงสุด คือ 10.4 พิลิปดาต่อปี ทั้งนี้เนื่องจากดาวบาร์นาร์ดโคจรไปในอวกาศด้วยความเร็วถึง 140 กม./วินาที ประกอบกับระยะห่างจากดวงอาทิตย์เพียง 5.9 ปีแสง นับเป็นดาวที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดรองจากดาวพรอกซิมาซึ่งเป็นสมาชิกในระบบดาวสามดวงของดาวแอลฟาคนครึ่งม้า ความเร็วแนวรัศมีของดาวบาร์นาร์ดเท่ากับ 108 กม./วินาที และความเร็วในระนาบที่ตั้งฉากกับแนวเล็งคือ 89 กม./วินาที

ราศีที่ 13

ราศีที่ 13 กำลังจะกลับมา

นักดาราศาสตร์เสนอเพิ่มราศีที่ 13

เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ปาร์ค คังเกิล นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ทำเอาคนทั้งโลกงงไปตาม ๆ กัน เมื่อเขาได้เปิดเผยว่า ราศีประจำตัวของทุ
กคนบนโลกอาจเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการหมุนของโลกและดวงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ราศีคนแบกงู ราศีที่ 13 ที่เคยเลิกใช้กันไปเมื่อหลายพันปีก่อน อาจถูกนำมาใช้กันอีกครั้ง

โดย ปาร์ค คังเกิล ได้เปิดเผยว่า จักรราศีนั้นถูกกำหนดโดยเชื่อมโยงกับการเคลื่อนที่ของโลกและดวงอาทิตย์ ซึ่งจักรราศีที่ใช้กันในปัจจุบันนั้น ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน และตลอด 3,000 ปีที่ผ่านมา การหมุนของโลกและดวงอาทิตย์ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ มาโดยตลอด ส่งผลให้ตำแหน่งของดวงดาวเคลื่อนไป 1 องศาทุก ๆ 70 ปี และตอนนี้ก็พบว่า ตำแหน่งของดวงดาวบนฟ้าได้เคลื่อนที่ไปจากเดิมกว่า 100 ปีมาแล้ว และส่งผลให้จักรราศีมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย

หลัก 12 ราศีหลักเดิมจึงไม่สัมพันธ์กับตำแหน่งดวงดาวอีกต่อไป ซึ่งหากจะมีการกำหนดจักรราศีใหม่ให้สัมพันธ์กับดวงดาวบนท้องฟ้า ก็ต้องมีการเพิ่มราศีคนแบกงูที่เคยเลิกใช้ไปเมื่อ 3,000 ปี ก่อนเข้ามาอยู่ในจักรราศีอีกครั้ง และนั่นหมายความว่าจะต้องกำหนดจักรราศีกันใหม่ ซึ่งหากถือตามหลักดาราศาสตร์ ก็จะมีทั้งหมด 13 ราศี และมีช่วงเวลาของแต่ละจักรราศีที่ถูกต้องตามตำแหน่งดาว ดังต่อไปนี้

ราศีมังกร (Capricorn) : 21 มกราคม - 17 กุมภาพันธ์ (27.4 วัน)
ราศีกุมภ์ (Aquarius) : 17 กุมภาพันธ์ - 12 มีนาคม (23.9 วัน)
ราศีมีน (Pisces) : 12 มีนาคม - 19 เมษายน (37.7 วัน)
ราศีเมษ (Aries) : 19 เมษายน - 14 พฤษภาคม (25.5 วัน)
ราศีพฤษภ (Taurus) : 14 พฤษภาคม - 21 มิถุนายน (38.2 วัน)
ราศีเมถุน (Gemini) : 21 มิถุนายน - 21 กรกฎาคม (29.3 วัน)
ราศีกรกฏ (Cancer) : 21 กรกฎาคม - 11 สิงหาคม (21.1 วัน)
ราศีสิงห์ (Leo) : 11 สิงหาคม - 17 กันยายน (36.9 วัน)
ราศีกันย์ (Virgo) : 17 กันยายน - 31 ตุลาคม (44.5 วัน)
ราศีตุลย์ (Libra) : 31 ตุลาคม - 21 พฤศจิกายน (21.1 วัน)
ราศีพิจิก (Scorpio) : 21 พฤศจิกายน - 30 พฤศจิกายน (8.4 วัน)
ราศีคนแบกงู (Ophiuchus) : 30 พฤศจิกายน - 18 ธันวาคม (18.4 วัน)
ราศีธนู (Sagittarius) : 18 ธันวาคม - 21 มกราคม (33.6 วัน)

(โปรดสังเกต คาบเวลาแต่ละราศีจะไม่เท่ากัน)

นอกจากนี้ ปาร์ค คังเกิล ได้เปิดเผยอีกว่า นี่ไม่ใช่ข่าวใหม่ของวงการดาราศาสตร์เลย นักดาราศาสตร์ทุกคนรู้เรื่องนี้มาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้ว จักรราศีที่นักโหราศาสตร์ถือกันไม่ได้สัมพันธ์กับดวงดาวแต่อย่างใด เช่น เวลาที่นักโหราศาสตร์บอกว่าเป็นช่วงของราศีมีน เมื่อมองบนฟ้าจะพบว่าดวงอาทิตย์ยังไม่ได้เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวปลา และจักรราศีที่ถือตามหลักดาราศาสตร์นั้นมีอยู่ทั้งหมด 13 กลุ่มดาว ซึ่งก็คือ กลุ่มดาวทั้ง 12 รวมกับกลุ่มดาวคนแบกงูที่อยู่ระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องกับกลุ่มดาวคนยิงธนู

โดยดวงอาทิตย์จะโคจรผ่านกลุ่มดาวคนแบกงูนี้ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 17 ธันวาคม รวมเวลา 19 วัน ซึ่งมากกว่าช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์โคจรผ่านกลุ่มดาวแมงป่องเสียอีก แต่สำหรับจักรราศีทางโหราศาสตร์นั้น ถือว่ามีเพียง 12 ราศีเท่านั้น ไม่ได้นับรวมราศีคนแบกงูเข้าไปแต่อย่างใด ดังนั้น จักรราศีที่นักโหราศาสตร์ถือจึงไม่สัมพันธ์กับตำแหน่งดวงดาวมาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้ว

อย่างไรก็ดี การเปิดเผยและเสนอแนะของนักดาราศาสตร์ ยังคงไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่ในขณะนี้ ประเด็นดังกล่าวได้กลายเป็น Talk of the Town ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันไปทั่วโลกเสียแล้ว โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ถ้าหากนักดาราศาสตร์และนักโหราศาสตร์ถือตามหลักเดียวกัน จำนวนเดือนที่ใช้กันบนโลกจาก 12 เดือนจะเปลี่ยนเป็น 13 เดือนหรือไม่ และเด็กที่เกิดหลังจากนี้นั้นจะยึดฤกษ์ยามตามราศีใด อีกทั้งคนที่เกิดก่อนหน้านี้จะต้องเปลี่ยนแปลงราศีตัวเองหรือไม่

ส่วนทางด้านนักดาราศาสตร์ต่างประเทศ ก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ข่าวที่ออกมานั้นเป็นข่าวที่ต้องการโจมตีนักโหราศาสตร์และสร้างความงวยงงให้ กับคนทั่วโลก พร้อมกับระบุว่าถึงแม้นักดาราศาสตร์จะใช้เกณฑ์การแบ่งราศีแตกต่างกับนัก โหราศาสตร์ แต่นักโหราศาสตร์ก็มีวิธีทำนายที่อาจจะไม่ได้ยึดหลักของตำแหน่งดวงดาวอย่าง ที่นักดาราศาสตร์ยึดกัน โดยจะใช้ตัวเลขคณิตศาสตร์ในการคำนวณหาวงโคจรของดวงดาว ซึ่งข่าวที่ออกมาก็ไม่ได้มีผลให้นักโหราศาสตร์อ่านคำทำนายคลาดเคลื่อน หรือทำนายไม่แม่นแต่อย่างใด

เตรียมรับพลังวันสงกรานต์ 2554 กันค่ะ

                                                                                 เตรียมรับพลังวันสงกรานต์
ในแต่ละปีจะมีช่องของการเปลี่ยนแปลงพลังงานในร่างกายสัมพันธ์กับพลังงานภายนอก โดยพระอาทิตย์ย้ายราศีจากมีนเข้าสู่ราศีเมษ คณาจารย์ผู้ชาญฉลาดจึงได้คำนวณเวลา พร้อมกับแนะนำให้บุคคลทั้งหลายปฏิบัติตนเพื่อปรับพลังงานภายในให้มีกำลัง เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป ให้ประสบกับความวัฒนาถาวรและรอดพ้นจากโทษภัยที่จะเกิดขึ้นให้บรรเทาเบาบางจนกระทั่งหมดสิ้นไป ดังนี้
1.     วันที่ 14 เมษายน 2554        เวลา 11 นาฬิกา 33 นาที 36 วินาที ตรงกับวันพฤหัส ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 เหนือ (เดือน 5ไทย) เป็นวันสังขารล่อง(วันตาย)         ในทางวิทยาศาสตร์คือการเกิดของเซล (ชีวิต) ในร่างกายจะน้อยกว่าการเสื่อมของเซลล์ ปฏิกิริยาชีวิตจะหยุดชั่วคราว ซึ่งโดยปกติ ทางพุทธศาสนาจะกล่าวว่ามีการเกิดดับของสังขารร่างกายสืบเนื่องกันไป(สันสติ)  ดังนั้นในปีนี้ตามคัมภีร์บอกไว้ว่า ฝนและความแห้งแล้ง จะเสมอกัน อันตรายจะบังเกิดกับ เจ้าพระยา ขุนนาง และคนทั้งหลาย จะเกิดความเดือดร้อนข้าวของจะแพง ควรสืบชะตาบ้าน ชะตาเมือง วิธีปฏิบัติ ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงสี่แยก เพื่ออาบน้ำดำหัว
โดยปีนี้ ศรี พลังดีอยู่ที่คาง ให้ใช้น้ำอบน้ำหอมลูบหรือเช็ด ส่วนพลังที่ไม่ดี คือกาลกิณีอยู่ที่คิ้ว จังไรอยู่ที่ต้นคอ(ท้ายทอย) ให้เอาน้ำขมิ้นส้มป่อย(ภาคกลางใช้มะกรูด) เช็ดแล้วขว้างทิ้ง
เวลาอาบน้ำดำหัวว่า คาถา “โอมสิริมา มหาสิริมา เตชะยัสสะลาภา อายุ วัณณา ภะวันตุเม”  เสร็จแล้วนุ่งผ้าใหม่ สตรีทัดดอกบัวที่หู หรือนำดอกบัวบูชาพระ เหน็บตรงประตูบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล

2.     วันที่ 15 เมษายน 2554 (วันเน่า) (วันเนาว์ภาคกลาง) เมื่อตายแล้วภายในเกิดเน่าเหม็นเปลี่ยนแปลง วันนี้ห้ามด่า แช่ง พูดคำหยาบ ถือศีล 5 ทำความสะอาดบ้านเรือน กวาดวัด ทำความสะอาดพระเจดีย์ ต้นโพธิ์(ทางเหนือใช้ไม้ค้ำต้นโพธิ์ ภาคกลางอาจห่มผ้าต้นโพธิ์ก็ได้ สรงน้ำพระ ขนทรายเข้าวัด (ชำระหนี้สงฆ์) ก่อพระเจดีย์ทราย อธิษฐานถวายพระพุทธเจ้า ขอบุญจลบังเกิดเฉกเช่นเมล็ดทราย เป็นการสะเดาะเคราะห์

3.     วันที่ 16 เมษายน 2554 (วันมหาสงกรานต์) (พญาวัน) (วันเถลิงศก) เป็นวันเปลี่ยนศักราช ถือว่าเกิดใหม่ตรงกับเวลา 17 นาฬิกา 31 นาที 12 วินาที  ปีนี้นาครักษาปี แร้งรักษาเดือน กระต่ายรักษาป่าจระเข้รักษาน้ำ พระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เป็นใหญ่แก่คนทั้งหลาย เทวกรวัตติ เทพบุตรรักษาอากาศ กวาลมังคละเทวบุตรรักษาแผ่นดิน จระเข้เป็นใหญ่สัตว์ 4 เท้า กาเป็นใหญ่สัตว์ 2 เท้า ไม้มะม่วงเป็นใหญ่ในไม้จริง ไม้หก (ไม้ไผ่ป่า)เป็นใหญ่ในไม้กลวง หญ้าคาเป็นใหญ่ในหญ้าทั้งหลาย ดอกบัวเป็นพญาดอก ขวัญข้าว(พลัง)อยู่ไม้กวาว(ทองกวาว) ไม้ไผ่เป็นใหญ่ในไม้กลวง ผีเสื้อ(ภพภูมิ)อยู่ที่ไม้มูก(ตีนเป็ด)  

เวลาทำบุญให้อุทิศบุญกุศลไปให้ท่านเทวดาประจำสิ่งเหล่านี้ หรือทำกระทงใส่ดอกหรือใบ หรือรูปภาพของสิ่งที่เอ่ยมาข้างต้น  เขียนชื่อของท่านเหล่านี้ใส่ในกระทง นำไปบูชาพระ(พระเจ้า) เพื่อความเป็นสิริมงคล

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ออกกำลังกายตามกรุ๊ปเลือด

ออกกำลังกายตามกรุ๊ปเลือด
วิธีออกกำลังกายให้เหมาะสมกับกรุ๊ปเลือดที่แตกต่าง เพื่อเสริมสร้างสุขภาพกายและใจ ไม่ทำให้ร้ายกล้ามเนื้อเพราะการออกกำลังกายอย่างหักโหม
วันนี้ ยืดเส้นยืดสาย เตรียม 

เริ่มจากเลือดกรุ๊ปเอ ควรออกกำลังกายแบบช้า ๆ ออกแรงไม่มาก เช่น โยคะ ไท้เก๊ก ชี่กง เพราะมีโครงกระดูกเล็ก หักง่าย สืบเนื่องจากอาหารที่เหมาะสมของคนเลือดกรุ๊ปเอ คือ อาหารประเภทมังสวิรัติ หรือรับประทานเนื้อสัตว์เพียงเล็กน้อย 

ส่วนเลือดกรุ๊ปบี ที่รับประทานอาหารทั้งผักทั้งเนื้อสัตว์ได้ในสัดส่วนที่เท่ากัน จึงมีความว่องไว ให้ออกกำลังกายอย่างสมดุล ไม่หักโหมหรือเชื่องช้าเกินไป เช่น ว่ายน้ำ เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ กอล์ฟ ปิงปอง 

สำหรับผู้ที่มี
เลือดกรุ๊ปเอบี เปรียบเสมือนส่วนผสมของกรุ๊ปเอและบี ให้สังเกตตนเองว่ามักเลือกรับประทานอาหารของกรุ๊ปเอ หรือกรุ๊ปบีมากกว่ากัน เมื่อทราบแล้วก็ให้ออกกำลังกายตามลักษณะของเลือดกรุ๊ปนั้น แต่ก็ควรเพิ่มการออกกำลังกายในแบบที่เหมาะกับเลือดอีกกรุ๊ปด้วย เช่น มักรับประทานผักและผลไม้อย่างคนเลือดกรุ๊ปเอ ก็ให้ออกกำลังกายแบบช้า ๆ เป็นหลัก และเสริมด้วยการออกกำลังกายของคนเลือดกรุ๊ปบีบ้าง 

ขณะที่คน
เลือดกรุ๊ปโอ เหมาะสมกับการออกกำลังกายชนิดที่ต้องออกแรงมาก เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล วิ่งทางไกล ชกมวย เนื่องจากสภาพร่างกายสามารถบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงและผักได้ในปริมาณมาก ทำให้มีโครงกระดูกที่แข็งแรง กล้ามเนื้อกระชับแน่น 

ไม่ว่าคุณจะมีเลือดอยู่ในกรุ๊ปใด ต้องไม่ลืมการเดินเร็ว 10 นาที หลังจากออกกำลังกายตามกรุ๊ปเลือดทุกครั้ง นอกจากนี้ยังควรออกมายืดเส้นยืดสายเคลื่อนไหวร่างกายให้ผิวหนังถูกแสงแดดราว 20 - 30 นาที ในช่วงเวลา 11.00 - 14.00 น. เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวมีรังสียูวีในระดับเข้มข้น ช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินดี 3 เพื่อช่วยลำเลียงแคลเซียมและแร่ธาตุต่าง ๆ ไปยังกระดูก โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นมะเร็งผิวหนัง หากไม่ได้ออกมารับแสงแดดด้วยการนอนอาบแดดอยู่เฉย ๆ กับที่ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวหนัง.
 

พรพระองค์ดำ นักรบแห่งจิตวิญญาณ: ไม้ชุมแสง

พรพระองค์ดำ นักรบแห่งจิตวิญญาณ: ไม้ชุมแสง